พ.ศ.2493 | เทศบาลเมืองสมุทรปราการได้โอนกิจการของโรงพยาบาลสมุทรปราการให้กับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และได้เปลี่ยนชื่อเป็น 'โรงพยาบาลสมุทรปราการ' |
พ.ศ.2503 | ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการมีความเห็นว่าที่ตั้งโรงพยาบาลเดิมเป็นที่ดินเช่า มีเนื้อที่คับแคบ ไม่อาจจะขยายปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เพราะตั้งอยู่ในเขตชุมชนแออัด มีถนนล้อมรอบ 3 ด้าน จึงได้จัดหาที่เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลของจังหวัดใหม่ และได้ที่ดินแปลงใหม่ที่ตำบลท้ายบ้าน เนื้อที่จากการจัดซื้อและการบริจาค |
พ.ศ.2506 | ได้มีการจัดสร้างอาคารต่างๆขึ้น ดังนี้ ตึกคนไข้ 2 ชั้น 1 หลัง ตึกสูติกรรม 2 ชั้น 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง โรงซักฟอก 1 หลัง ที่พักศพ – ตรวจศพ 1 หลัง สำหรับตึกผู้ป่วยนอกจากการบริจาคของ เรือโทโกศล กันตะบุตร ในระยะเวลา 3 ปี ที่ได้ทำการก่อสร้างอาคาร โรงพยาบาลได้มีอาคารสำคัญต่างๆ คือ ตึกอำนวยการ ตึกคนไข้ 2 ชั้น ตึกสูติกรรม 2 ชั้น ตึกผ่าตัด เอกซเรย์ และตึกภิกษุอาพาธ และอาคารพักเจ้าหน้าที่ |
พ.ศ.2508 | จากความร่วมมือของประชาชน บริษัท ห้างร้าน พ่อค้าและข้าราชการ ซึ่งเป็นความสำคัญของสถานที่ให้การรักษาพยาบาลและประชาชนผู้เจ็บป่วย จึงบริจาคทรัพย์สินสร้างอาคารให้กับโรงพยาบาลและส่วนราชการได้จัดสรรเงินงบประมาณให้อีกส่วนหนึ่ง โรงพยาบาลได้เปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2508 เป็นต้นมา |
ปัจจุบัน | โรงพยาบาลสมุทรปราการเป็นโรงพยาบาลทั่วไปจำนวนเตียง 385 เตียง ตั้งอยู่เลขที่ 71 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ 23 ไร่ 75 ตารางวา และได้รับบริจาคเพิ่มเติม ปี 2551 อีก 5 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา โรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนจากด้านงบประมาณในการก่อสร้างอาคารครุภัณฑ์ และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตามลำดับ อีกทั้งยังได้รับการจัดสรรแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านต่างๆ ตามมาตรฐาน กระทรวงกำหนดมาปฏิบัติงาน ทำให้เพิ่มขีดความสามารถด้านต่างๆอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น |